วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2559

กลวิธีและภาษาที่ใช้ในการนำเสนอสารคดี

การใช้ภาษาในงานสารคดี



๑ ใช้ภาษาไพเราะ สละสลวย แต่ไม่วิลิสมาหราเกินไป หรืออาจกล่าวได้ว่า ใช้ภาษาที่เรียบง่าย แต่ทรงพลัง
๒ เติมเสน่ห์ในงานเขียนด้วยการใช้อุปมาอุปไมยพองาม
๓ ใช้คำประเภท กับ แก่ แต่ ต่อ ที่ ซึ่ง อัน ฯลฯ อย่างเหมาะสม
๔ ระมัดระวังคำฟุ่มเฟือยประเภท วัดโพธิ์ถูกสร้างขึ้นใน พ.ศ….,  ทีมชาติไทยแพ้ให้กับทีมจีน, รัฐบาลสหรัฐฯทำการเจรจาสันติภาพกับอิรัก ฯลฯ
๕ ระมัดระวังคำซ้ำ เช่น “…ฉันเสียใจที่ทำให้แม่ต้องร้องไห้ การทำให้แม่ต้องร้องไห้ถือเป็นบาปมหันต์…” หากเลือกคำไม่ซ้ำกันได้ เช่น “…การทำให้บุพการีถึงกับน้ำตาตกถือเป็นบาปมหันต์…” น่าจะดีกว่า

 กลวิธีการเดินเรื่องในงานสารคดี



๑ ใช้ตัวผู้เขียนเองเป็นตัวเดินเรื่อง (พรีเซ็นเตอร์) เช่น สารคดีเชิงบันทึกการเดินทาง หรือสารคดีที่นำเสนอเรื่องราวผ่านอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของผู้เขียน
๒ ใช้บุคคลในพื้นที่เป็นตัวเดินเรื่อง เช่น สารคดีสะท้อนความยิ่งใหญ่ของผืนป่าดงพญาไฟ (เขาใหญ่) ผ่านประสบการณ์อดีตพรานป่าผู้ผันชีวิตมาเป็นนักอนุรักษ์
๓ ใช้บุคคลในประวัติศาสตร์เป็นตัวเดินเรื่อง เช่น สารคดีสะท้อนประวัติศาสตร์หมู่เกาะตะรุเตา ผ่านชีวิตที่พลิกผันของอาจารย์สอ เสถบุตร ซึ่งเคยเป็นนักโทษการเมืองถูกจองจำที่ทัณฑสถานตะรุเตา และเขียนดิกชันนารีเป็นผลงานที่ยิ่งใหญ่
๔ เสนอสารคดีในรูปแบบจดหมาย ใช้ตัวผู้เขียนจดหมายกับผู้รับ เป็นตัวเดินเรื่อง
๕ ให้เนื้อหาสารคดีเดินเรื่องด้วยตัวของมันเอง โดยไม่ต้องมีพรีเซ็นเตอร์ เช่น เขียนถึงอุทยานแห่งเขาใหญ่ ก็ใช้เขาใหญ่เป็นตัวเดินเรื่อง เขียนสารคดีเกี่ยวกับควาย ก็ใช้ควายเป็นตัวเดินเรื่อง
๖ สร้างตัวละคร (Actor) เป็นตัวเดินเรื่อง หมายถึงเรานำเสนอเรื่องราวอันเป็นข้อเท็จจริง (Fact) แต่ปั้นแต่งตัวละครขึ้นเป็นตัวเดินเรื่อง หรือเอาตัวละครใส่เข้าไปในเหตุการณ์หรือสถานที่ที่เรากล่าวถึง วงการโทรทัศน์เรียก สารคดีกึ่งละคร” (Docu-Drama) เช่น เรื่อง ปมไหมผู้เขียนบทสร้างตัวละครชื่อ คทาเป็นตัวเดินเรื่อง โดยกำหนดให้ คทาเป็นนักหนังสือพิมพ์ที่ติดตามข่าวการหายสาบสูญของจิม ทอมป์สัน ราชาไหมไทยกรณีนี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงใน ปี ๒๕๑๐ แต่ คทาเป็นเพียงตัวละคร

หากเป็นบทความสารคดี บางทีเรียกสารคดีกึ่งละครว่า สาระนิยายคือใช้เหตุการณ์จริง สถานที่จริง แต่ตัวเดินเรื่องเกิดขึ้นจากจินตนาการ ถือเป็นการผสมผสานระหว่างข้อเท็จจริง (Fact) กับ มายา (Drama) ซึ่งผู้เขียนต้องทำอย่างกลมกลืนที่สุด มิฉะนั้น สารคดีจะไม่สมจริง

อ้างอิง บทความเมื่อคิดจะเขียนสารคดี

การตั้งประเด็นสารคดี

ประเด็นที่ดี คืออย่างไร?



                        ประเด็นในการเขียนสารคดีมีหลากหลาย แบ่งเป็นประเภทได้เป็น ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติวิทยา วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม คติชนวิทยา ภูมิปัญญา ศิลปสถาปัตยกรรม การท่องเที่ยว ฯลฯ แต่สมมติเราจะเขียนประเด็นธรรมชาติวิทยาว่าด้วยผืนป่าดอยอินทนนท์ ก็ยังมีประเด็นย่อย ๆ อีกมากมาย
                        คุณสมบัติของ ประเด็นที่ดีคือ
                        ๑ เป็นความสนใจใคร่รู้ของมนุษย์ (Human Interest)
                        ๒ เป็นการสร้างสรรค์ใหม่ (Creative) ถ้าเป็นประเด็นที่เคยมีคนนำเสนอมาแล้ว ก็ควรมีข้อมูลคืบหน้าใหม่ ๆ เพิ่มเติม ไม่ใช่ย่ำอยู่บนรอยเดิมทั้งหมด
                        ๓ ก่อให้เกิดทัศนะคติเชิงบวก (Positive) แม้ว่าเรื่องที่นำเสนอจะเป็นเรื่องที่เฉียดฉิว เช่น เรื่องการทรงเจ้า แต่เจตนาในการนำเสนอ ไม่ควรโน้มน้าวให้ให้เกิดความงมงาย แต่ก็ไม่จำเป็นต้องชี้นำ หรืออบรมสั่งสอนจนเกินไป
                        ๔ มีเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกมาเกี่ยวข้อง (Emotion) หมายถึงอารมณ์สนุกสนาน ตื่นเต้น พิศวง ระทึกใจ เศร้าสลดใจ ตลกขบขัน ฯลฯ ไม่ใช่เสนอแต่ข้อมูลทางกายภาพแห้ง ๆ แต่น่าจะมีข้อมูลทางความรู้สึกนึกคิด หรือจิตวิญญาณของบุคคลที่เกี่ยวข้อง มานำเสนอด้วย อย่างที่เรียกว่า ข้อมูลทางจินตภาพ)
                        ๕ เป็นประเด็นที่ผู้เขียนมีข้อมูล รู้จริง น่าเชื่อถือ (Convincingly) ข้อมูลจากประสบการณ์จริงในการลงพื้นที่ หรือข้อมูลจากการค้นคว้าเอกสาร และจะดียิ่ง หากมีข้อมูลทั้งสองด้าน เพราะฉะนั้น การเริ่มงานเขียนด้วยประเด็นที่ใกล้ตัว ประเด็นที่เราสนใจใคร่รู้เป็นการส่วนตัว จึงเป็นการเริ่มต้นที่ดีวิธีหนึ่ง
                        ๖ เป็นประเด็นที่มีความขัดแย้ง หักมุม เปรียบเทียบเห็นความแตกต่าง
(Conflict) เพราะบางครั้ง การที่ผู้อ่านคาดเดาเนื้อเรื่องตอนจบถูกบ้าง ไม่ถูกบ้าง เพราะมีการหักมุมจบ ก็จะช่วยเพิ่มอรรถรสในการอ่านหรือดูมากยิ่งขึ้น
                       
                         พื้นบ้าน พื้นถิ่น ประเด็นแห่งโลกอนาคต
                        อย่างไรก็ตาม หากจะพูดถึงประเภทของสารคดีที่จะได้รับความสนใจในอนาคต เราอาจดูแนวโน้มได้จากสิ่งที่นักอนาคตศาสตร์ อย่าง จอห์น ไนซ์บิตต์ และ แพตริเซีย อะเบอร์ดีน คาดการณ์หรือพยากรณ์ไว้ ในหนังสือ อภิมหาแนวโน้มโลก” (Megatrands 2000แปลโดย สันติ ตั้งรพีพากร) ซึ่งถือเป็นคำพยากรณ์อนาคตโลกยุค ๒๐๐๐ ว่า
                        “...ในช่วงที่วิถีการดำเนินชีวิตระดับโลกกำลังเป็นไปแบบเดียวกันมากขึ้นนั้น ก็กลับมีสัญญาณแสดงออกมาอย่างไม่คลุมเครือเลยว่า ความต้องการที่จะรักษาไว้ซึ่งความเป็น ตนเองทั้งทางภาษาและวัฒนธรรม ปลอดจากการครอบงำจากต่างชาติ กำลังเป็นแนวโน้มที่มาแรง สวนทางกับแนวโน้มแห่งความเป็นสากลร่วมกันอย่างเห็นได้ชัด
                        ยิ่งวิถีการดำเนินชีวิตของพวกเรามีความคล้ายคลึงกันเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งเสาะลึกลงหาค่านิยมแบบเก่า ทั้งด้านศาสนา ภาษา ศิลปะ และวรรณคดี ยิ่งแนวคิดและความเข้าใจต่อโลกภายนอกของเราใกล้เคียงกันเท่าไร เราก็จะยิ่งได้สัมผัสคุณค่ามหาศาลของจารีตประเพณีดั้งเดิมที่ถูกขุดค้นเอามาจากภายใน…”
                        วิถีการดำเนินชีวิตระดับโลกคืออะไร ? มิอาจปฏิเสธได้ว่าวันนี้ ประชาคมโลกคำนึงถึงเรื่องสิทธิประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน การค้าเสรี การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ฯลฯ ขณะเดียวกันประชาคมโลกก็มีชีวิตคล้ายคลึงกันมากขึ้นทุกวัน เพราะเราต่างดูข่าว ซีเอ็นเอ็น นุ่งยีนลีวาย กินอาหารฟาสต์ฟู้ดอย่างแม็กโดนัลด์ เป็นสมาชิกเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นส่วนหนึ่งของหมู่บ้านโลกที่ไร้พรมแดน
                        แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธได้เช่นกันว่า ยิ่งโลกทันสมัย โลกก็ยิ่งหันมาสนใจเรื่องของภูมิปัญญาพื้นบ้าน วัฒนธรรมพื้นถิ่น เช่น การที่อาหารไทยได้รับความนิยมในระดับนานาชาติ นอกจากรสชาติอร่อยแล้ว ส่วนหนึ่งเพราะมีส่วนประกอบเป็นพืชผักสมุนไพรที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ในขณะที่สิงคโปร์ต้องรณรงค์ให้ประชาชนยิ้มเป็น เพราะสิงคโปร์เป็นเมืองท่าสากลมานาน ประชากรพูดภาษาอังกฤษได้ ค้าขายคล่อง แต่บุคลิกพื้นฐานของวัฒนธรรมตะวันออกบางอย่าง เช่นการยิ้ม กลับหายไป
                        นี่เป็นเพียงตัวอย่างเล็ก ๆ ที่สนับสนุนคำพยากรณ์ของนักอนาคตศาสตร์ ที่ว่าโลกในวันข้างหน้า จะเป็นโลกที่ให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาพื้นบ้าน วัฒนธรรมพื้นถิ่นมากยิ่งขึ้น คนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับโลกอนาคต ไม่ใช่แค่ใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตได้คล่อง แต่ยังต้องรู้จักรากเหง้าแห่งเผ่าพันธุ์ตน ตระหนักในคุณค่าแห่งภูมิปัญญาของแผ่นดินถิ่นเกิด

                        ดังนั้น เรื่องของภูมิปัญญา ขนบประเพณี และสิ่งที่เป็นวัฒนธรรมพื้นบ้าน พื้นถิ่นทั้งหลาย จึงน่าจะเป็นประเภทของสารคดีที่ได้รับการต้อนรับในโลกแห่งอนาคต

อ้างอิง   knowledge.prdnorth.in.th/wp-content/uploads/.../1-เมื่อคิดจะเขียนสารคดี.doc

เริ่มต้นอย่างไร เมื่อคิดจะเขียน ?

 เริ่มต้นอย่างไร เมื่อคิดจะเขียน ?





                        เมื่อคิดจะลงมือเขียนสารคดี...
                        ๑ ถามตัวเองว่าจะเขียนสารคดีเรื่องนั้น ๆ ในประเด็นอะไร? (ประวัติศาสตร์, ภูมิศาสตร์, โบราณคดี, ธรรมชาติวิทยา, ศิลปวัฒนธรรม, วิถีชีวิต, สิ่งแวดล้อม ฯลฯ)
                        ๒ ถ้ามีหลายประเด็น อะไรคือประเด็นหลัก อะไรคือประเด็นรอง ? เพราะสารคดีที่ให้น้ำหนักทุกเรื่อง ทุกประเด็นเท่ากันหมด ไม่น่าจะเป็นสารคดีที่ดึงดูดใจ หรือให้อะไรกับผู้อ่านมากนัก นอกเสียเป็นจากการรายงานสิ่งที่เกิดขึ้นแบบ ชักม้าชมเมืองหรือ ขี่ม้าชมดอกไม้
                        ๓ เรียงลำดับประเด็น หรือข้อมูลที่มีอยู่ในมือ ดูว่าเราได้ข้อมูลอะไรมาบ้าง สัมภาษณ์ใครมาบ้าง ตัวเราเองมีทัศนะความคิดเห็นต่อเรื่องนั้นอย่างไรบ้าง เอามาวางแบดูบนโต๊ะ จากนั้นจึงร้อยเรียงประเด็นเหล่านั้นใหม่ ตามกลวิธีการนำเสนอที่วางแผนไว้ นั่นคือการพล็อตเรื่อง ตามที่แนะนำไว้ในข้อ ข.
                        ๔ ค้นหาประเด็นขึ้นต้น - ลงท้าย ที่ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก เพราะถ้าขึ้นต้นได้ดี ย่อมมีชัยชนะในการเกาะกุมหัวใจคนอ่าน คนดู ให้ติดตามงานสารคดีของเราไปตั้งแต่ต้นจนจบได้ ยิ่งถ้าจบเรื่องได้ดี ได้กินใจ แง่คิดมุมมองที่เรานำเสนอไว้ในสารคดี ก็จะประทับลงในความทรงจำของผู้อ่านมากยิ่งขึ้น หลีกเลี่ยงการขึ้นต้นเรื่องด้วยบทนำประเภท ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมหรือ สภาพสังคมไทยปัจจุบันสับสนวุ่นวายฯลฯ ซึ่งเป็นประโยคพื้น ๆ ที่ถูกใช้บ่อยจนไม่ค่อยมีความน่าสนใจ เสนอให้ขึ้นด้วยด้วยประเด็นที่เป็นรูปธรรม เช่น คน สัตว์ สิ่งของ ฯลฯ
                        ๕ วางเป้าหมายว่าจะเขียนสารคดีด้วยความยาวแค่ไหน ? (สั้น ปานกลาง ยาวกี่หน้า ? ) กับวางเป้าหมายให้ชัดว่าจะเขียนให้ใครอ่าน? (เด็ก ผู้ใหญ่ บุคคลทั่วไป เกษตรกร ฯลฯ)
                        ๖ ไม่คาดหวังจะสร้างผลงานชิ้นเยี่ยมในความฝัน เพราะจะทำให้เราเกร็ง เขียนไม่ออก กลัวไม่ดี ขอให้คิดว่าทำให้ดีที่สุด ณ วันนั้น ถ้ายังไม่ดีก็ค่อยๆ แก้ไขปรับปรุงไป เพราะงานเขียนเป็นเรื่องของการฝึกฝน น้อยคนนักที่จะเขียนงานชิ้นเดียวแล้วดีเลย แต่ ยิ่งเขียน จะยิ่งดีมากกว่า
                        ๗ สร้างกำลังใจด้วยการ ร่างโครงเรื่องให้เสร็จก่อน เช่น ตั้งใจเขียนเรื่องมลพิษในแม่น้ำเจ้าพระยา ความยาว ๒-๓ หน้า ก็ร่างโครงเรื่องให้เสร็จในช่วงเวลาเดียว เช่น ๒-๓ ชั่วโมง อย่าเขียนไปแก้ไปทีละประโยคหรือทีละบรรทัด จะทำให้งานเดินหน้าไปช้าจนพาลหมดกำลังใจ คำบางคำ หรือประโยคบางประโยค ตอนลงมือเขียนยังไม่พอใจ ถ้ายังหาคำที่ดีกว่านั้นไม่ได้ ก็ให้ทิ้งไว้ก่อน คิดเสียว่านี่เป็นแค่ ร่างจะทำให้ไม่เครียด
จากนั้นเมื่อร่างโครงเรื่องเสร็จแล้ว แนะนำให้เปลี่ยนอิริยาบถเช่น นอนพัก ดูทีวี. เล่นกีฬา คุยกับแฟน ฯลฯ ให้สมองปลอดโปร่งแล้วจึงเอาโครงเรื่องที่ร่างไว้ มาแก้ไขปรับปรุง เมื่อสมองไม่เครียด ย่อมคิดสร้างสรรค์คำหรือประโยคใหม่ที่สละสลวยกว่าเก่าได้ แต่ถ้าย้ำคิดย้ำทำ วนเวียนแก้ไขคำให้ดีที่สุด สวยหรูที่สุด ก็อาจจะเขียนได้แค่ ๓-๔ บรรทัด แต่ใช้เวลาเป็นวัน ๆ แล้วในที่สุดก็จะเซ็งตัวเองไปเลย
                        ๘ เขียนแล้วอย่าเก็บไว้อ่านคนเดียว อย่างน้อยให้เพื่อน ๆ หรือคนรอบข้างได้ช่วยตรวจสอบว่า เราเขียนหนังสือให้คนอื่นอ่านเข้าใจได้หรือไม่ ? บางคนเขียนแล้วเข้าใจอยู่คนเดียว  วัฒนธรรมการวิจารณ์จึงควรมีอยู่ในจิตสำนึก คือวิจารณ์และรับฟังการวิจารณ์ได้
                        การส่งไปให้บรรณาธิการนิตยสารฉบับต่าง ๆ ได้อ่านก็เป็นวิธีที่ดี โดยเมื่อเริ่มส่งไปอย่าคาดหวังว่าจะได้รับพิจารณาตีพิมพ์ทันที แต่ให้คาดหวังคำวิจารณ์ คาดหวังว่าจะได้พิสูจน์ฝีมือว่าเราอยู่ในระดับใด พอจะเขียนหนังสือให้คนอื่นอ่านได้ไหม เมื่อได้รับคำวิจารณ์ก็จะได้นำมาแก้ไขปรับปรุง อย่างไรก็ตาม มีนักเขียนหน้าใหม่หลายคนที่ส่งผลงานชิ้นแรก ๆ ไปให้นิตยสาร ก็ได้ตีพิมพ์เลยและสร้างชื่อเสียงขึ้นอย่างรวดเร็ว
                        ทั้งนี้ จะส่งต้นฉบับให้นิตยสารฉบับไหนพิจารณา ควรศึกษาบุคลิกของนิตยสารฉบับนั้น เพราะถ้าเป็นนิตยสารแนววาไรตี้ อ่านสบาย แต่เราส่งสารคดีเชิงประวัติศาสตร์ หนา ๒๐ หน้าไป ก็ยากจะได้รับการพิจารณา จึงต้องตระหนักว่านิตยสารบนแผงมีบุคลิกอันหลากหลาย
                        ๙ การอ่าน การดู การฟัง การรับสื่ออยู่เสมอ เป็นแรงบันดาลใจในการเขียนที่ดี

                        ๑๐ ลงมือเขียนวันนี้!

ขอขอบคุณ
คุณ ธีรภาพ โลหิตกุล  

จูงใจอย่างไร ให้ลูกน้องเต็มใจทำงาน

     คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ผลงานของหัวหน้าเกิดขึ้นจากผลงานของลูกน้องที่ร่วมใจร่วมแรงทำให้ แบบว่า ลูกน้องดัน หัวหน้าดึงซึ่งหมายถึง ลูกน้องมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้งานของหัวหน้า ประสบผลสำเร็จ ส่วนหัวหน้าเองจะมีส่วนในการส่งเสริมสนับสนุนลูกน้องให้มีหน้าที่และตำแหน่งงานที่ดีขึ้น พบว่ายังมีหัวหน้างานหลายต่อหลายคนที่หลงผิดคิดว่าผลงานที่เกิดขึ้นนั้นมาจากตนเองเพียงฝ่ายเดียว ลูกน้องก็เป็นแค่ผู้ช่วยคนหนึ่งเท่านั้น เป็นหัวหน้าที่เน้นการบริหารงานของตนเป็นหลักไม่สนใจในการบริหารลูกน้องในทีม ….



          คุณรู้ไหมว่า หัวหน้างานเหล่านั้นอาจพบปัญหาที่จะตามมานั่นก็คือ ลูกน้องขาดแรงจูงใจในการทำงานให้ ทำงานตามคำสั่งเพียงอย่างเดียว ไม่อุทิศและสละเวลาหากหัวหน้างานมีงานด่วนพิเศษ และปัญหาการที่ลูกน้องลาออกเพราะไม่มีสิ่งจูงใจในการทำงาน ซึ่งปัญหาเหล่านี้เองจะส่งผลย้อนกลับมายังหัวหน้าที่ต้องรับภาระหนัก แทนที่จะมีเวลาในการทำงานเชิงกลยุทธ์ การวางแผนงาน การพัฒนาระบบงานให้ดีขึ้น กลับต้องเอาเวลามาสะสางงานในรายละเอียด คอยแก้ไขปัญหาประจำวัน ต้องทำงานด่วนพิเศษหรือทำงานนอกเวลาทำงานซึ่งไม่มีลูกน้องอาสาที่จะช่วยหรือเกี่ยงกันไม่อยากทำให้ จูงใจลูกน้องให้ทำงานดังนั้นเพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่นผู้เป็นหัวหน้าเองจึงไม่ควรละเลยที่จะใส่ใจในความคิดความรู้สึกของลูกน้อง การบริหารคนควบคู่ไปกับการบริหารงาน ซึ่งหน้าที่งานอย่างหนึ่งที่หัวหน้าพึงปฏิบัตินั่นก็คือ การหาวิธีจูงใจลูกน้องในการทำงาน ทั้งนี้การจูงใจลูกน้องให้ทำงานให้นั้นมิใช่เรื่องยากที่คุณเองในฐานะหัวหน้างานจะทำไม่ได้ ซึ่งดิฉันขอนำเสนอเทคนิคง่าย ๆ ในการจูงใจลูกน้องด้วยวิธี D-R-I-V-E ดังนี้


D – Development

          การพัฒนาและฝึกอบรมเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถจูงใจลูกน้องให้ทำงานได้ คงไม่มีลูกน้องคนไหนอยากที่จะทำงานกับหัวหน้าที่ไม่เคยคิดที่จะส่งเสริมหรือสนับสนุนให้พวกเค้ามีความรู้และความสามารถที่เพิ่มขึ้น ขอให้หัวหน้างานตระหนักไว้เสมอว่า ไม่ต้องกลัวลูกน้องจะเก่งหรือดีกว่าตนเอง แบบว่ากลัวลูกน้องจะเลื่อยขาเก้าอี้ จนเป็นเหตุให้หัวหน้างานไม่สนใจที่จะพัฒนาลูกน้องเลย ทั้งนี้การพัฒนาลูกน้องนั้นมีหลากหลายวิธีที่หัวหน้างานสามารถทำได้ เช่น

การสอนงาน (Coaching) : เพื่อให้ลูกน้องเข้าใจวิธีการ และขอบเขตหน้าที่งานที่ต้องรับผิดชอบ
การส่งลูกน้องเข้าฝึกอบรมกับหน่วยงานภายนอก (In House and Public Training) : เพื่อส่งเสริมให้พนักงานมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น
การให้คำปรึกษาแนะนำ (Consulting): เพื่อช่วยลูกน้องในการหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
การโยกย้ายสับเปลี่ยนงาน (Job Rotation) : เพื่อส่งเสริมให้ลูกน้องเกิดทักษะที่หลากหลาย (Multi-Skill) มากขึ้น
R – Relation

          การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับและลูกน้องเป็นสิ่งที่หัวหน้างานไม่ควรเพิกเฉย เพราะสัมพันธภาพที่ดีจะทำให้ลูกน้องอุทิศและตั้งใจในการทำงานให้กับคุณอย่างจริงใจมิใช่การบังคับ ทั้งนี้วิธีการในการเสริมสร้างให้คุณเองมีสัมพันธภาพที่ดีกับลูกน้อง เช่น การพาลูกน้องไปเลี้ยงอาหารกลางวันหรืออาหารเย็นเนื่องในโอกาสพิเศษซึ่งอาจจะเป็นเลี้ยงวันเกิด เลี้ยงลูกน้องกรณีที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง…. หรือการเริ่มต้นทักทายลูกน้องก่อน ….หรือการถามเรื่องอื่นๆกับลูกน้องบ้างที่ไม่ใช่เรื่องงาน ….หรือการซื้อของฝากหรือของเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ลูกน้องซึ่งไม่จำเป็นต้องรอให้ถึงวัน/โอกาสพิเศษ ….หรือการรับฟังและเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาของลูกน้องที่ไม่ใช่ปัญหาจากการทำงาน ….หรือการสร้างอารมณ์ขันกับลูกน้อง การสร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะกับลูกน้องบ้าง

I – Individual Motivation

          ลูกน้องแต่ละคนมีหลากหลายสไตล์ บางคนเงียบไม่ชอบแสดงออก บางคนชอบเอะอะโวยวาย บางคนคิดมาก บางคนขี้น้อยใจ ดังนั้นในฐานะของหัวหน้างานจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องวิเคราะห์ลูกน้องแต่ละคนว่าพวกเค้ามีนิสัย บุคลิกลักษณะและความต้องการอย่างไร แต่ละคนจะมีแบบฉบับเฉพาะที่แตกต่างกันไป การจูงใจลูกน้องจึงย่อมต้องแตกต่างกันไปตามลักษณะนิสัยของแต่ละคน จงอย่าใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งกับลูกน้องหลาย ๆ คนที่มีความต่างกัน เช่น หากพบว่าลูกน้องของตนขอบที่จะแสดงความคิดสร้างสรรค์ หัวหน้าควรจะมอบหมายงานที่ส่งเสริมให้พวกเค้าได้ใช้ความคิดและสามารถนำเสนอแนวคิดต่าง ๆ กับคุณได้ หรือหากลูกน้องของคุณเป็นคนชอบโวยวายเมื่อมีความคิดเห็นไม่ตรงกับคุณ คุณเองในฐานะหัวหน้างานควรจะสงบนิ่งและพูดคุยกับลูกน้องอย่างมีเหตุผลเพื่อจูงใจให้ลูกน้องเห็นด้วยกับคุณ

V – Verbal Communication

          คุณรู้ไหมว่าคำพูดเปรียบเสมือนดาบสองคมที่ส่งผลทั้งด้านบวกและด้านลบกับตัวคุณเองในฐานะของหัวหน้างาน บางครั้งการไม่พูดหรือนิ่งเฉย จะดูดีกว่าการพูดออกไป โดยเฉพาะคำพูดในทางลบที่อยากให้คุณจงหลีกเลี่ยง ได้แก่ คำพูดที่ประชดประชันเหน็บแนม คำพูดที่ออกคำสั่งโดยไม่มีเหตุผล คำพูดดูถูกความสามารถของลูกน้อง คำพูดที่ปัดความรับผิดชอบหรือโยนความผิดให้กับลูกน้อง คำพูดที่นินทาลูกน้องลับหลัง คำต่อว่าลูกน้องต่อหน้าเพื่อนร่วมงานหรือต่อหน้าผู้อื่น จงพยายามเลือกใช้คำพูดทางบวกที่สร้างสรรค์และจูงใจลูกน้องให้พวกเค้าอยากทำงานให้กับคุณ เช่น พูดชดเชยเมื่อลูกน้องทำงานสำเร็จ พูดให้กำลังใจเมื่อลูกน้องวิตกกังวลหรือเผชิญปัญหา พูดกล่าวแสดงความขอบคุณเมื่อลูกน้องทำงานให้ พูดเสริมกำลังใจถึงความเชื่อมั่นว่าลูกน้องสามารถทำงานนั้น ๆ ได้สำเร็จ

E – Environment Arrangement

          สภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถจูงใจลูกน้องให้อยากทำงาน เพื่อมิให้ลูกน้องรู้สึกจำเจหรือเบื่อหน่ายกับสภาพแวดล้อมแบบเดิม ๆ พบว่ามีหลากหลายวิธีที่คุณสามารถเลือกใช้เพื่อสภาพแวดล้อมหรือบรรยากาศที่ดีในการทำงาน เช่น การปรับเปลี่ยนรูปโฉมออฟฟิศใหม่ ไม่ว่าเป็นการจัดวางโต๊ะ เก้าอี้ใหม่…. หรือการจัดหาอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการทำงานต่าง ๆ ให้พร้อมในการทำงาน…. หรือการอนุญาตให้ลูกน้องเปิดเพลงเบา ๆ ฟังเพื่อคลายความตึงเครียดในการทำงาน…. หรือการสร้างทีมงานให้เป็นทีมแห่งการเรียนรู้เพื่อให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งทีมงานนักอ่านขึ้นโดยการมอบหมายให้ลูกน้องอ่านหนังสือที่เกี่ยวข้องกับงานของตนเองและนำมาเล่าให้เพื่อนร่วมงานฟัง หรือการจัดประชุมร่วมกันอาจเป็นเดือนละครั้งหรือสองครั้งตามความเหมาะสมเพื่อสร้างบรรยากาศในการทำงานเป็นทีมร่วมกัน ทั้งนี้คุณอาจใช้เวทีของการประชุมเพื่อแจ้งให้พนักงานรับทราบถึงนโยบายของบริษัท ภารกิจหน้าที่ของทีมงาน และการให้ลูกน้องมีส่วนร่วมเสนอไอเดียใหม่ ๆ เพื่อปรับปรุงระบบงานให้ดีขึ้น

          ดังนั้นขอให้หัวหน้างานเริ่มสำรวจตัวเองนับแต่ตอนนี้ว่าได้ใส่ใจที่จะหาวิธีจูงใจลูกน้องให้ทำงานมากน้อยแค่ไหน หัวหน้างานที่มีทั้งศาสตร์ในการบริหารคนและศาสตร์ในการบริหารงานนั้นมักจะเป็นหัวหน้างานที่ประสพความสำเร็จในหน้าที่การงาน ได้รับการยอมรับและความเคารพศรัทธาจากลูกน้องด้วยความจริงใจ


อ้างอิง https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%E0%B8%88%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3-%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87

วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559

แบบฟอร์มการเขียนสตอรี่บอร์ด

แบบฟอร์มการเขียนสตอรี่บอร์ดแบบต่างๆ


แบบที่ 1


แบบที่ 2


แบบที่ 3



ตัวอย่างสตอรี่บอร์ด (Story Board)




อ้างอิง http://www.krui3.com/content/865

หลักการเขียน Storyboard

การเขียนสตอรี่บอร์ด (Storyboard)
ความหมายของสตอรี่บอร์ด (Story Board)
สตอรี่บอร์ด (Story Board) คือ การเขียนกรอบแสดงเรื่องราวที่สมบูรณ์ของภาพยนตร์หรือหนังแต่ละเรื่อง 
โดยมีการแสดงรายละเอียดที่จะปรากฏในแต่ละฉากหรือแต่ละหน้าจอ เช่น ข้อความ ภาพ 
ภาพเคลื่อนไหว เสียงดนตรี เสียงพูดและแต่ละอย่างนั้นมีลำดับของการปรากฏว่า
อะไรจะปรากฏขึ้นก่อน-หลัง อะไรจะปรากฏพร้อมกัน 
 เป็นการออกแบบอย่างละเอียดในแต่ละหน้าจอก่อนที่จะลงมือสร้างเอนิเมชันหรือ หนังขึ้นมาจริงๆ
Storyboard คือ การสร้างภาพให้เห็นลำดับขั้นตอนตามเนื้อเรื่องที่ต้องการ 
โดยเฉพาะภาพเคลื่อนไหว
รายละเอียดที่ควรมีใน Storyboard ได้แก่ คำอธิบายแต่ละสื่อที่ใช้ 
(ข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดิโอ)


หลักการเขียนสตอรี่บอร์ด


         รูปแบบของสตอรี่บอร์ด จะประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนภาพกับส่วนเสียง โดยปกติการเขียนสตอรี่บอร์ด ก็จะวาดภาพในกรอบสี่เหลี่ยม ต่อด้วยการเขียนบทบรรยายภาพหรือบทการสนทนา และส่วนสุดท้ายคือการใส่เสียงซึ่งอาจจะประกอบด้วยเสียงสนทนา เสียงบรรเลง และเสียงประกอบต่างๆ


สิ่งสำคัญที่อยู่ภายในสตอรี่บอร์ด ประกอบด้วย
- ตัวละครหรือฉาก ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่หรือตัวการ์ตูน และที่สำคัญ คือ พวกเขากำลังเคลื่อนไหวอย่างไร
- มุมกล้อง ทั้งในเรื่องของขนาดภาพ มุมภาพและการเคลื่อนกล้อง
- เสียงการพูดกันระหว่างตัวละคร  มีเสียงประกอบหรือเสียงดนตรีอย่างไร

ข้อดีของการทำ Story Board

1. ช่วยให้เนื้อเรื่องลื่นไหล เพราะได้อ่านทวนตั้งแต่ต้นจนจบก่อนจะลงมือวาดจริง
2. ช่วยให้เนื้อเรื่องไม่ออกทะเล เพราะมีแผนการวาดกำกับไว้หมดแล้ว
3. ช่วยกะปริมาณบทพูดให้พอดีและเหมาะสมกับหน้ากระดาษและบอลลูนนั้น ๆ
4. ช่วยให้สามารถวาดจบได้ในจำนวนหน้าที่กำหนด (สำคัญสุด!)




ขั้นตอนการทำ Story Board

1.วางโครงเรื่องหลัก ไม่ว่าจะเป็น Theme, ตัวละครหลัก, ฉาก ฯลฯ
    1.1  แนวเรื่อง
    1.2  ฉาก
    1.3  เนื้อเรื่องย่อ
    1.4  Theme/แก่น (ข้อคิด/สิ่งที่ต้องการจะสื่อ)
    1.5  ตัวละคร  สิ่งสำคัญคือกำหนดรูปลักษณ์ของตัวละครแต่ละตัวให้โดดเด่นไม่คล้ายกันจนเกิน ไป ควรออกแบบรูปลักษณ์ของตัวละครให้โดดเด่นแตกต่างกัน และมองแล้วสามารถสื่อถึงลักษณะนิสัยของตัวละครได้ทันที

 2.  ลำดับเหตุการณ์คร่าว ๆ

จุดสำคัญคือ ทุกเหตุการณ์จะเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน เหตุการณ์ก่อนหน้าจะทำให้เหตุการณ์ต่อมามีน้ำหนักมากขึ้น และต้องหา จุด Climax ของเรื่องให้ได้ จุดนี้จะเป็นจุดที่น่าตื่นเต้นที่สุดก่อนที่จะเฉลยปมทุกอย่างในเรื่อง การสร้างปมให้ผู้อ่านสงสัยก็เป็นจุดสำคัญในการสร้างเรื่อง ปมจะทำให้ผู้อ่านเกิดคำถามในใจและคาดเดาเนื้อเรื่องรวมถึงตอนจบไปต่าง ๆ นานา
3. กำหนดหน้า

4. แต่งบท

            เป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนลงมือวาดสตอรี่บอร์ด ควรเขียนบทพูดและบทความคิดที่จะใช้เขียนลงในหนังออกมาโดยละเอียดเพื่อที่จะได้กำหนดขนาดของบอลลูนและจัดวางลงบนหน้ากระดาษได้อย่างเหมาะสม


5. ลงมือเขียน Story Board


อ้างอิง // https://sites.google.com/site/pathumwilairoom1/kar-kheiyn-s-tx-ri-bxrd-storyboard

การเตรียมการเขียนสารดคี








โดยปกติการเขียนมักจะมี 3 ขั้นตอนใหญ่ คือ
1. ขั้นเตรียม (preparing) 2. ขั้นเขียน (writing) 3. ขั้นตรวจแก้ (editing)
      การเตรียมการเขียน
1. เตรียมแนวคิด
2. เลือกประเด็นหรือเรื่องที่จะเขียน
3. การเตรียมข้อมูล
      การจัดระเบียบข้อมูล
1. กําหนดจุดเน้น
2. กําหนดแก่นเรื่อง
3. วางโครงเรื่อง

   การเตรียมการเขียน สารคดีอยู่รอบตัวเรา
1.ขอให้เรารู้เกี่ยวกับ สิงนั้นมากกว่าคนอื่น
2. เลือกประเด็นหรือเรื่องที่จะเขียน
3. การเตรียมข้อมูล -สร้างแนวคิดจากการอ่าน -สร้างแนวคิดจากผู้คน

   ดังนั้น ข้อมูล คือ หัวใจของการเขียนสารคดี เพราะสารคดีมงเสนอข้อเท็จจริง เตรียมแนวคิด ความรู้เป็นหลัก สารคดีอยู่บนพืนฐาน  เลือกประเด็นหรือเรื่องที่จะเขียน ของข้อเท็จจริง การจัดระเบียบข้อมูลคือการกําหนดจุดเน้น กําหนดแก่นเรื่อง วางโครงเรื่อง

   การเตรียมการเขียน ข้อมูล ได้มาจากไหน
1. เตรียมแนวคิด
- ข้อมูลเอกสาร
- เลือกประเด็นหรือเรื่องที่จะเขียน
2. ข้อมูลภาคสนาม
3. การเตรียมข้อมูล การจัดระเบียบข้อมูล
- กําหนดจุดเน้น
- กําหนดแก่นเรื่อง
- วางโครงเรื่อง




       ข้อแนะนําในการฝึกสร้างความคิด
1. เตรียมแนวคิด –ไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลสําคัญ
2. เลือกประเด็นหรือเรื่องที่จะเขียน –สอดแทรกประสบการณ์ส่วนตัว
3. การเตรียมข้อมูล
    -จํากัดขอบเขตความคิดให้แคบ
    -จดบันทึกก่อนทีจะลืม พร้อมกับสร้างการจัดระเบียบข้อมูล แรงบันดาลใจจากความคิดนั้น
    –อย่าลืมคนธรรมดาสามัญ   

    การเตรียมการเขียน
ประเด็นในการเขียนอาจจะเป็น
1. เตรียมแนวคิด ปัญหาหรือไม่ก็ได้  
2. เลือกประเด็นหรือเรื่องที่จะเขียน ประทับใจ ความสะเทือนใจ การยกย่อง
3. การเตรียมข้อมูล และต้องการเผยแพร่ หรือการทีจะให้ความรู้และข้อมูลที่รอบด้านเกี่ยวกับการจัดระเบียบข้อมูล เรื่องนั้นๆ

    การเตรียมการเขียน
 หลักในการเลือกประเด็น
1. เตรียมแนวคิด -อยูในความสนใจของเรา
2. เลือกประเด็นหรือเรื่องที่จะเขียน -ถนัดมีความรู้พนฐาน
3. การเตรียมข้อมูล -ประเด็นไม่กว้างหรือแคบเกินไป -ไม่เกินกําลัง การจัดระเบียบข้อมูล -เป็นเรื่องแปลกใหม่ -มีผลกระทบต่อสังคมหรือไม่.


อ้างอิง // http://www.slideshare.net/ajarnice/ss-8302528