การเขียนสารคดีเชิงข่าว
สารคดีเชิงข่าว : หัวใจและการนำเสนอของ วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง
นักเขียนสารคดีมือรางวัล
เมื่อวันที่ 21 กันยายน
ที่ผ่านมา แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรม ได้รับสนับสนุนจากสำนักงานสร้างเสริมสุขภาพ
(สสส.) ได้โอกาสเชิญคุณวีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง
นักเขียนผู้มากความสามารถที่มีรางวัลการันตีมากมาย อาทิ รางวัลเซเว่น บุ๊คอะวอร์ด ,รางวัลลูกโลกสีเขียว
ฯลฯ มานั่งจับเข่าคุยแลกเปลี่ยนว่าจะทำอย่างไรให้งานเพื่อสังคมสามารถถ่ายทอด
สื่อสารได้อย่างน่าสนใจ มีชีวิตชีวา ไม่ใช่แค่การรายงานว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน
อย่างไร เพราะกิจกรรมทางสังคมมีเรื่องราวรายรอบที่เคลื่อนไหวได้น่าสนใจนัก
ทีมงานของแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน
ได้เรียบเรียงเนื้อหาจากกิจกรรมอบรมปฏิบัติการในครั้งนี้มาฝากกันครับ
นัยยะของสารคดีเชิงข่าวสารคดีเชิงข่าว คือ
การนำเสนอข่าวในรูปแบบสารคดี คือ เล่าเรื่องในรูปแบบวรรณศิลป์
ถ่ายทอดเรื่องที่เขียนขึ้นจากเค้าความจริง ไม่ใช่จากจินตนาการ โดยสามารถหยิบยกส่วนใดส่วนหนึ่งของเรื่องมาเขียนก็ได้
ไม่จำเป็นต้องเล่าให้ครบองค์ประกอบเช่นข่าว
หัวใจสำคัญของการเขียนสารคดี
หัวใจสำคัญของการเขียนสารคดี
- สารคดีเป็นบันเทิงคดี เวลาเขียนสารคดี ทำสารคดีทีวี หรือแม้แต่เขียนสคริปต์รายการสารคดีทางวิทยุ โทรทัศน์ เขียนบทความสารคดีอะไรก็แล้วแต่ เราจะยึดหัวใจก็คือ สารคดีเป็นบันเทิงคดีประเภทหนึ่ง นั่นหมายความว่าต้องอ่านสนุก สามารถดึงดูดให้ผู้อ่านติดตามจนจบเรื่อง
- นำเสนอข้อมูลที่เป็นจริง การเขียนสารคดี
ต้องนำเสนอข้อมูลหรือข้อเท็จจริงเช่นเดียวกับข่าว
เราไม่สามารถแต่งเรื่องสารคดีเองขึ้นจากจินตนาการได้
จะต้องนำเสนอสิ่งที่เป็นความจริงหรือที่เรียกว่า fact พูดง่ายๆ คือ
เป็นความรู้คู่ความบันเทิง
- นำเสนออย่างสร้างสรรค์ สารคดีจะต้องผ่านกระบวนการนำเสนออย่างสร้างสรรค์ ต้องผ่านวรรณศิลป์ในการนำเสนอ คือต้องเอาข้อมูล ข้อเท็จจริงนั้น มาใส่ในสมองของเรา เพื่อที่จะแปลเอาข้อมูลที่ยาก เข้าใจยาก น่าเบื่อหรือแข็งทื่อ ให้มีชีวิตชีวา หรือเกิดความสนุกสนาน ต้องมีลีลาลูกเล่นในการนำเสนอ จะขึ้นต้นเรื่องเช่นไร จะร้อยเรียงเรื่องราวอย่างไร จึงจะชวนอ่าน ชวนดู ชวนติดตาม ไม่น่าเบื่อ
- ใช้รูปธรรมอธิบายนามธรรม มรว.คึกฤทธิ์
ปราโมทย์ ศิลปินแห่งชาติเคยบอกว่า เมื่อจะเขียนอะไรก็ตาม อย่าเพียงแต่เล่า
จงสำแดงให้เป็นที่ประจักษ์ อย่าเพียงแต่เล่าเฉยๆ อย่าเพียงแต่เล่าว่า
มันสวยเหลือเกิน น่าสนุก น่าตื่นเต้นเหลือเกิน แต่แสดงออกมาให้เห็นเลยว่า
สวย-มันสวยอย่างไร สนุก-มันสนุกแบบไหน ตื่นเต้น-มันตื่นเต้นขนาดไหน ก็คือ
ใช้รูปธรรมที่จับต้องได้มาอธิบายนามธรรมที่ยากๆ ให้ผู้อ่านมองเห็นภาพ
องค์ประกอบของสารคดี : หากสามารถมีให้ครบดังโครงสร้างสารคดีนี้
จะเพิ่มความสมบูรณ์มากขึ้น
- ชื่อเรื่อง : การเขียนชื่อเรื่องต้องจับใจ มีข้อความสั้นกระชับ สามารถสรุปเนื้อหาทั้งหมดของเรื่องให้อยู่ในชื่อเรื่องได้ จะดีมาก คุณวีระศักดิ์ ได้ให้ผู้เข้าอบรมทดลองเขียนเรื่องจากการดู วีดีทัศน์สารคดีช่วงชีวิตหนึ่งของ “สืบ นาคะเสถียร” ได้ชื่อเรื่องที่น่าสนใจจากผู้เข้าอบรม อาทิ
“สืบ นาคะเสถียร 20 ปีกับการจากไปที่ไม่สูญเปล่า”
“สืบ นาคะเสถียร นักอนุรักษ์ผู้ล่วงลับ”
“ สืบ...สู่การสืบทอดเจตนา” เป็นต้น
- เปิดเรื่อง : ควรเขียนเปิดเรื่องให้มีความน่าสนใจ
เนื่องจากเป็นส่วนสำคัญของสารคดี ถ้าเปิดเรื่องไม่ดีจะทำให้ผู้อ่านไม่สนใจอ่านจนจบ การเปิดชื่อเรื่องที่น่าสนใจจากผู้เข้าอบรมในงานเขียนหัวข้อเดียวกัน
อาทิ
“ หากนึกถึงภาพชายวัยกลางคน รูปร่างผอมเกร็ง ใส่แว่นกรอบหนา หน้าตาเอาจริงเอาจัง คงจะเป็นใครไม่ได้นอกจาก “สืบ นาคะเสถียร” เจ้าป่าแห่งห้วยขาแข้ง นักสู้ผู้มีอุดมการณ์อนุรักษ์ธรรมชาติ ผู้ยอมเสียสละชีวิตของตนไว้เป็นบทเรียนที่น่าจดจำ”
“ หากนึกถึงภาพชายวัยกลางคน รูปร่างผอมเกร็ง ใส่แว่นกรอบหนา หน้าตาเอาจริงเอาจัง คงจะเป็นใครไม่ได้นอกจาก “สืบ นาคะเสถียร” เจ้าป่าแห่งห้วยขาแข้ง นักสู้ผู้มีอุดมการณ์อนุรักษ์ธรรมชาติ ผู้ยอมเสียสละชีวิตของตนไว้เป็นบทเรียนที่น่าจดจำ”
- ตัวเรื่อง การเขียนตัวเรื่องที่ดี
ควรมีเส้นเรื่อง ( Story Line) ที่แข็งแรง เพื่อไม่ให้หลุดไปจากประเด็นหลัก
หากเปรียบงานศิลปะ เส้นเรื่องเปรียบได้กับ Perspective ที่จูงใจ
นำสายตาคนดู คนอ่าน ประคองทั้งแก่นเรื่อง (Theme) และโครงเรื่องไว้ได้
- จบเรื่อง การจบเรื่องควรสรุปอย่างประทับใจ หรือชวนให้ผู้อ่านคิดต่อ ตัวอย่างการปิดเรื่องจากผู้เข้าอบรม อาทิ
“แม้เขาจะจากไปเล้ว แต่ชื่อเสียงและคุณงามความดียังคงปรากฏให้เห็น หวังว่าการจากไปของ “สืบ” จะกลายเป็นบทเรียนแก่บรรดาข้าราชการไทย เพือสืบทอดเจตนารมณ์ของเขาให้ยั่งยืน”
ข้อมูล ข้อมูลทางสารคดี
การได้มาซึ่งข้อมูลสำหรับการเขียนสารคดี มีหลายวิธี อาทิ
1. ข้อมูลแห้ง หรือข้อมูลทุติยภูมิ : คือ ข้อมูลที่มีการจัดทำ รวบรวมไว้แล้ว ทั้งในรูปของเอกสาร หนังสือ เทป หนัง
วีดีโอ ฯลฯ
2. ข้อมูลจากการสังเกตการณ์ : จะได้จากการเข้าไปมีส่วนร่วม
ร่วมรู้เห็นในการงาน กิจกรรม โดยการสัมผัสจริงทั้งด้วยตา
ใจ และความรู้สึก งานสารคดีที่เด่นมากจากข้อนี้ อาทิ ผลงานของอาจารย์เสกสรร ประเสริฐกุล
ใจ และความรู้สึก งานสารคดีที่เด่นมากจากข้อนี้ อาทิ ผลงานของอาจารย์เสกสรร ประเสริฐกุล
3. ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ : สัมภาษณ์ผู้รู้ แหล่งข้อมูล
ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ ซึ่งวิทยากร คือ คุณวีระศักดิ์ มักจะ
ใช้วิธีนี้ เพราะทำได้รวดเร็ว เข้าถึงข้อมูลจริงในวิถีที่เป็นอยู่ เป็นต้น
ใช้วิธีนี้ เพราะทำได้รวดเร็ว เข้าถึงข้อมูลจริงในวิถีที่เป็นอยู่ เป็นต้น
บางครั้งสารคดียังใช้วิธีการผสมผสานให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่น่าสนใจมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องใช้เพียงวิธีใดวิธีเดียว
- วิธีการนำเสนอ เราสามารถสื่อสารงานเขียนสารคดีได้ตามความถนัด
และค่อยๆ ฝึกฝนนำเสนอแนวทางอื่นๆ เพิ่มเติม ได้ เช่น
1. เขียนแบบบันทึก เหมือนการเขียนบันทึกในไดอารี่ประจำวัน แต่เป็นบันทึกแบบมีหัวเรื่อง มีโครงเรื่องตามที่
แนะนำไปแล้ว
1. เขียนแบบบันทึก เหมือนการเขียนบันทึกในไดอารี่ประจำวัน แต่เป็นบันทึกแบบมีหัวเรื่อง มีโครงเรื่องตามที่
แนะนำไปแล้ว
2. ลงลึกในประเด็น การแบ่งประเด็น แล้วเขียนไปทีละประเด็นจนจบ จะง่ายทั้งกับคนเขียนและผู้อ่าน
เช่น
หากเราจะเขียนเรื่องมะพร้าว ก็อาจตั้งประเด็นตั้งแต่ ประวัติความเป็นมา , ประเภท ,
ประโยชน์ของมะพร้าว ฯลฯ
หากเราจะเขียนเรื่องมะพร้าว ก็อาจตั้งประเด็นตั้งแต่ ประวัติความเป็นมา , ประเภท ,
ประโยชน์ของมะพร้าว ฯลฯ
เลือกเฟ้นวิธีการนำเสนอ ใส่ใจและมีความพยายามในการสรรหารูปแบบวิธีการนำเสนอ
เช่น การเล่าเรื่องไม่จำเป็นต้องเรียงตามประเด็นที่วางไว้
หรือไม่ต้องเล่าเรื่องตามลำดับเวลา มีการตัดต่อสลับฉาก-เหตุการณ์ มีการขยักข้อมูล
และค่อย ๆ บอกเล่าเพื่อให้ชวนติดตาม
เคล็ดลับในการสร้างเสน่ห์ในงานเขียน มีเคล็ดลับที่วิทยากรบอกว่าเก็บมาจากนักเขียนชั้นครู
นักเขียนในดวงใจ มาแบ่งปันให้งานเขียนมีความน่าสนใจ ดังนี้
- จะเล่าเรื่องอะไรให้เข้าสู่เรื่องให้เร็วที่สุด ด้วยแง่มุมใดก็ได้
- มีผู้เล่าเรื่อง เช่น ฉัน, เขา, ตัวละคร, หรืออาจผสมก็ได้ (ฉัน+ตัวละคร)
- จะเล่าเรื่องอะไรให้เข้าสู่เรื่องให้เร็วที่สุด ด้วยแง่มุมใดก็ได้
- มีผู้เล่าเรื่อง เช่น ฉัน, เขา, ตัวละคร, หรืออาจผสมก็ได้ (ฉัน+ตัวละคร)
- มีฉาก : เรื่องราวเหตุการณ์ในเรื่องเกิดที่ไหน
สภาพเป็นอย่างไร
- ตัวละคร : แหล่งข้อมูลที่มีตัวตนจริง
ๆ
- บทสนทนา : การให้ข้อมูล คำพูด การโต้ตอบกันของผู้คนในเรื่อง
- การเล่าเรื่องต้องสมจริง : แสดงให้เห็นเหตุผล ที่มาที่ไป การใส่ความคิดเห็นส่วนตัว
การพูดถึงตัวเอง หากไม่แนบเนียนจะทำให้ความน่าเชื่อถือลดลง
- ต้องพยายามทำให้ผู้อ่านมองเห็นภาพ มีการอุปมา-อุปมัย
เคล็ดลับเพิ่มเติม
- งานเขียนที่ดีต้องมี... แต่, ตรรกะ เหตุผล, ขยัก
ดำเนินเรื่องอย่างกระชับ พยายามเข้าเรื่องให้เร็วที่สุด, ขยาย , ขยี้ เน้นประเด็นสำคัญ
(ศุ บุญเลี้ยง)
- มีความขัดแย้ง, ร่วมสมัย, มุมมองแหลมคม, ชื่อเรื่องมีพลัง (วันชัย ตัน)
งานเขียนที่ดี : เสริมสำนวนเปรียบเปรย สรรคำที่ใช้ให้เหมาะสม เติมพลังของภาษา
- มีความขัดแย้ง, ร่วมสมัย, มุมมองแหลมคม, ชื่อเรื่องมีพลัง (วันชัย ตัน)
งานเขียนที่ดี : เสริมสำนวนเปรียบเปรย สรรคำที่ใช้ให้เหมาะสม เติมพลังของภาษา
คุณสมบัติของนักเขียนสารคดีที่ดี
- ต้องเป็นคนช่างซักถาม เป็นคนช่างสังเกต อยากรู้อยากเห็น ทำตัวเป็นแก้วน้ำที่ไม่เต็มอยู่เสมอ
- มีวิญญาณเป็นนักถ่ายทอด นักเล่าเรื่อง แต่ต้องให้ผู้อื่นเข้าใจด้วย
- ใฝ่ใจสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ประเด็นใหม่ๆ กลวิธีการนำเสนอใหม่ๆ อยู่เสมอ เรื่องที่มีคนเขียนครั้งแล้วครั้งเล่า เราอาจจะสามารถนำมาเขียนในมุมมองใหม่ๆ ได้
- ต้องเป็นคนช่างซักถาม เป็นคนช่างสังเกต อยากรู้อยากเห็น ทำตัวเป็นแก้วน้ำที่ไม่เต็มอยู่เสมอ
- มีวิญญาณเป็นนักถ่ายทอด นักเล่าเรื่อง แต่ต้องให้ผู้อื่นเข้าใจด้วย
- ใฝ่ใจสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ประเด็นใหม่ๆ กลวิธีการนำเสนอใหม่ๆ อยู่เสมอ เรื่องที่มีคนเขียนครั้งแล้วครั้งเล่า เราอาจจะสามารถนำมาเขียนในมุมมองใหม่ๆ ได้
- ต้องเป็นผู้รับสื่อที่ดี จะเป็นนักผลิตสารคดีที่ดีต้องเป็นนักดูสารคดีที่ดีก่อน เป็นนักอ่าน นักฟัง สนใจเรื่องโน้นเรื่องนี้ เป็นผู้รับสื่อที่ดี
- ต้องเห็นคุณค่าของคนทุกระดับชั้น ไม่ว่าแหล่งข้อมูลจะเป็นคนระดับไหน ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือชาวนา บางครั้งแหล่งข้อมูลที่ดีของเราก็คือชาวบ้าน ต้องเห็นคุณค่าของคนเท่าเทียมกัน
อ้างอิง // http://www.happyreading.in.th/news/detail.php?id=49
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น